ตำนานหิ่งห้อย


ความเชื่อของคนมาเลเซีย พวกโอรังดูซัน ซึ่งเป็นเผ่าพื้นเมือง เชื่อว่าหิ่งห้อยเป็นวิญญาณของคนตาย
ส่วนคนมาลายูก็เชื่อว่าหิ่งห้อยเกิดจากเล็บมือมนุษย์ในอินเดียมีคนเชื่อว่าหิ่งห้อยคือนัยน์ตาของเทพเจ้าที่หลงเหลืออยู่ หลังจากสงครามซึ่งความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อหนังและกระดูกโดนโยนลงแม่น้ำและเน่าเปื่อยไปแล้วเหลือเพียงนัยน์ตาที่ส่องแสงได้ในความมืดในอินเดียยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกำเนิดหิ่งห้อยด้วยว่า หิ่งห้อยเกิดจากความร่วมมือของเทพ 3 องค์ เพื่อให้มนุษย์เลิกกินอาหารดิบและมีไฟเอาไว้ใช้ โดยเทพองค์แรกเป็นแมลงตัวหนึ่งปั้น มาจากขี้ไคลของพระองค์ อีกพระองค์ถูพระ
วรกายของพระองค์เองจนเกิดไฟลุกขึ้น แล้วก็เอาไฟไปติดที่แมลงตัวนั้น ส่วนอีกพระองค์ก็รีบนำแมลงตัวนี้ส่งให้มนุษย์อย่างเร่งด่วน แต่ระหว่างทางไฟก็ค่อย ๆ มอดลง เหลือเพียงที่ก้นแมลงอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งแมลงตัวนี้ก็คือ หิ่งห้อยตัวแรกนั่นเองชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของคนตายตามที่ ส.พรายน้อย (นักเขียนผู้หนึ่ง) เล่าว่าในฤดูร้อนริมฝั่งแม่น้ำอูจี (ในญี่ปุ่น) ฝูงหิ่งห้อยที่อยู่คนละฟากของแม่น้ำจะยกพลเข้ารบกัน พวกที่แพ้ก็จะตกลงไปในน้ำ ทำให้ผิวน้ำเป็นประกายชาวบ้านจึงจับกลุ่มกันดูความงามอันน่าประหลาดนี้และกล่าวว่า นี่คือนิสัยคุมถิ่นที่ติดตัวมาครั้งที่ยังเป็นมนุษย์และหิ่งห้อยนี่คือ วิญญาณของ 2 ตระกูลนักรบในอดีตที่รบรากันมาแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อนอดีตมีการใช้ประโยชน์หิ่งห้อยเป็นโคมไฟราคาถูกสำหรับชาวบ้าน ในจีนและญี่ปุ่น นักศึกษาที่ยากจนจะจับหิ่งห้อยใส่ภาชนะต่างตะเกียงเพื่อใช้อ่านหนังสือในเวลากลางคืน ที่จาไมก้าหิ่งห้อยมีขนาดใหญ่ให้แสงสว่างมากเพียงแค่ 6-7 ตัวก็ให้แสงสว่างเพียงพอกับการอ่านหนังสือแล้ว ที่บราซิลจะจับหิ่งห้อยมาใช้ในพืชพวกน้ำเต้า เจาะรูรอบ ๆ ใช้แทนตะเกียงในกระท่อม บางครั้งชาว บราซิลจะจับหิ่งห้อยมาประดับในเรือนผม หรือไม่ก็ผูกไว้ที่ข้อเท้าขณะเดินป่า
ชาวปานามาที่ยากจนนิยมจับหิ่งห้อยใส่ในกรงกระดาษเล็ก ๆ เพื่อนำมาติดเป็นต่างหูในประเทศไทยก็มีตำนานที่สืบทอดกันมานานกล่าวว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของชายที่จุดตะเกียงโคมตามหาหญิงคนรักที่ชื่อนางลำพูซึ่งจมหายไปในแม่น้ำ เพราะฉะนั้นลำพูจึงเป็นต้นไม้ที่หิ่งห้อยชอบเกาะเนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นวิญญาณของคนรักตน